DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
สถาบันวิจัยและพัฒนา >
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/805
|
Title: | การออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่มีแนวความคิดจากการบูรณาการเครื่องปั้นดินเผากับ ศิลปะการแกะหนังตะลุง |
Other Titles: | Lamp design : integrating from Terra – cotta and the art of shadow puppet sculpture |
Authors: | รัตนพันธุ์, ชัชวาลย์ |
Keywords: | integrating from terra – cotta and the art of shadow puppet sculpture lamp, an identity and local culture |
Issue Date: | 24-Jun-2011 |
Series/Report no.: | วารสารวิชชา ปีที่ 28;ฉบับที่ 1 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่มีแนวความคิดจากการบูรณาการเครื่องปั้นดินเผากับศิลปะการแกะหนังตะลุง 2) ทดลองสร้างแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟจากการผสานกันของวัสดุเครื่องปั้นดินเผาและศิลปะการแกะหนังตะลุง 3) เลือกสรรผลิตภัณฑ์โคมไฟที่เหมาะสมจากการทดลองสร้าง
การออกแบบและกระบวนการผลิตโคมไฟเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 9 แบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการประมาณค่าความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและการออกแบบ กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มที่ 3 ผู้ประกอบการแกะหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จากสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์และมูลค่าเพิ่มสินค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กลุ่มที่ 5 ผู้ประกอบการร้านขายผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน กลุ่มที่ 6 ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 กลุ่ม จำนวน 30 คน มีความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับโคมไฟทั้ง 9 แบบ ดังนี้ 1) ด้านคุณค่าของงานหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 5 มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นมากที่สุดเท่ากับ 3.91 อยู่ในระดับความคิดเห็นที่ดี และผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นน้อยที่สุดเท่ากับ 3.35 อยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง 2) ด้านประโยชน์ใช้สอย ผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 5 มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นมากที่สุด เท่ากับ 3.53 อยู่ในระดับความคิดเห็นที่ดี และผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด เท่ากับ 3.31 อยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง 3) ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 5 มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นมากที่สุด เท่ากับ 3.77 อยู่ในระดับความคิดเห็นที่ดี และผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด เท่ากับ 3.41 อยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง
เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โคมไฟทั้ง 9 แบบ โดยพิจารณาทั้ง 3 ด้านรวมกัน ได้แก่ 1) ด้านคุณค่าของงานหัตกรรม 2) ด้านประโยชน์ใช้สอย และ 3) ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 5 มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นมากที่สุด เท่ากับ 3.71 อยู่ในระดับความคิดเห็นที่ดี และผลิตภัณฑ์โคมไฟแบบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นน้อยที่สุดเท่ากับ 3.35 อยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง |
URI: | http://202.29.33.134:8080/dspace/handle/123456789/805 |
ISSN: | 0125-2380 |
Appears in Collections: | มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|