DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
สถาบันวิจัยและพัฒนา >
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/804
|
Title: | การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมจักสานจากพืชท้องถิ่นภาคใต้ กรณีศึกษา กลุ่มจักสานใบกะพ้อ หมู่บ้านอายเลา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | The Conservation of Basketry Handicraft from Local Plants in the South of Thailand: A Case Study of Palm Leaf Basketry Group, Moo Ban Eye Lao, Tambon Thungpho, Amphoe Chulabhorn, Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | พัตรานนท์, เจษฎา สุขสิกาญจน์, เรวัติ ศรีนพจันทร์, เขมภิกา นุ่นจุ้ย, เพ็ญศรี |
Keywords: | Conservation, Basketry Handicraft, Palm Leaf, Moo Ban Eye Lao |
Issue Date: | 24-Jun-2011 |
Series/Report no.: | วารสารวิชชา ปีที่ 28;ฉบับที่ 1 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษางานหัตถกรรมจักสานจากพืชท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้กลุ่มจักสานใบกะพ้อ หมู่บ้านอายเลา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกรณีศึกษา เพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลที่เป็นระบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำหัตถกรรมจักสานจากพืชท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย คือ ขั้นที่ 1 ศึกษางานหัตถกรรมจากใบกะพ้อ ทำการศึกษาบริบทของชุมชน กรรมวิธีการผลิต และรูปแบบของงานหัตถกรรมจากใบกะพ้อ ขั้นที่ 2 การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำหัตถกรรมจากใบกะพ้อ ทำการศึกษาสภาพการสืบทอดภูมิปัญญา จากนั้นพัฒนาวิธีการสืบทอดภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ทดลองใช้วิธีการสืบทอดภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และประเมินความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม สืบทอดภูมิปัญญาและการเรียนรู้งานหัตถกรรมจากใบกะพ้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลการวิจัย ได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม หมวดวิชาศิลปะ เรื่องการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมจักสานจากใบกะพ้อเพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาและการเรียนรู้งานหัตถกรรม จากใบกะพ้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจัดการเรียนการสอนในทุก ๆ วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 12.30-15.30 น. จำนวน 3 คาบ/สัปดาห์ 10 หน่วยการเรียนรู้ ผู้เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 37 คน ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมหมวดวิชาศิลปะ เรื่องการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมจักสานจากใบกะพ้อ จากความคิดเห็นของบุคคลที่มีส่วนร่วม 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีความรู้เกี่ยวกับหัตถกรรมจักสานจากใบกะพ้อเพิ่มขึ้น ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของท้องถิ่นตนเอง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและส่งเสริมเป็นอาชีพได้ สามารถอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมจักสานจากพืชท้องถิ่นแบบพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด |
URI: | http://202.29.33.134:8080/dspace/handle/123456789/804 |
ISSN: | 0125-2380 |
Appears in Collections: | มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|