DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2446
|
Title: | การศึกษาผ้าบาติก เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษา : กลุ่มผ้าบาติกสำเภาทอง ตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | A Study on Batik to Enhance the Local Identity of Nakhon Si Thammarat Provincea Case Study: Batik Samphaothong Group of Tai Samphao Sub-District, Phra PhromDistrict, Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | สุพัตรา, คงขำ เครือวัลย์, คงขำ สุภะรัฐ, ยอดระบำ อรุณวรรณ, อรุณวรรณ ชูสังกิจ |
Keywords: | ผ้าบาติก อัตลักษณ์ท้องถิ่น อัตลักษณ์ท้องถิ่น กลุ่มผ้าบาติกสำเภาทอง |
Issue Date: | 29-Aug-2564 |
Publisher: | โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง |
Citation: | เครือวัลย์ คงขำ,สุพัตรา คงขำ,สุภะรัฐ ยอดระบำ และอรุณวรรณ ชูสังกิจ. (2564, พฤษภาคม – สิงหาคม). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 13(2), 32-41. |
Abstract: | การวิจัยเรื่องการศึกษาผ้าบาติกเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษา : กลุ่มผ้าบาติกสำเภาทอง ตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำมาใช้ในงานสร้างลวดลายบนผืนผ้า 2) ลวดลายผ้าบาติกของกลุ่มผ้าบาติกสำเภาทอง และ 3) แนวทางพัฒนาลวดลายผ้าบาติกเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช เก็บรวบรวมข้อมูลจากจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 27 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
อัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในภาพรวมของจังหวัด เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่น โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และลักษณะตามธรรมชาติ 2) อัตลักษ์เฉพาะพื้นที่ในแต่ละอำเภอ เช่น นกนางแอ่น เครื่องปั้นดินเผา
ลวดลายผ้าบาติกกลุ่มสำเภาทอง มี 3 ลักษณะ คือ 1) รูปแบบลวดลาย ได้แก่ (1) แนวดัดแปลงมาจากธรรมชาติ (2) ลายเรขาคณิต (3) ลายไทย ลายเครือเถา (4) ลายประเภทภาพสัตว์ (5) สัญลักษณ์ของจังหวัด (6) เอกลักษณ์ของหน่วยงานตามที่ลูกค้าต้องการ 2) สีสันของรูปแบบลวดลาย จะคำนึงถึงความเหมาะสมของลวดลาย ความต้องการของตลาด และความคุ้นเคยในการระบายสี 3) เทคนิครูปแบบการเขียนลวดลาย ได้แก่ (1) เทคนิคบาติกเส้นขาว (2) เทคนิคลวดลายเส้นสี
แนวทางพัฒนาลวดลายผ้าบาติกเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยภาครัฐควรส่งเสริมให้นำอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นมาเป็นแนวทางในการออกแบบ ควรผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ประยุกต์ลวดลายภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคนิคสมัยใหม่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย อบรมให้ความรู้เพิ่มเติม |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2446 |
ISSN: | 1960-8735 (print) 2651-1223 (online) |
Appears in Collections: | วารสาร
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|