|
DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2445
|
Title: | ผลของการเสริมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 ต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและการสร้างสีของปลากัด (Betta splendens Regan, 1910) |
Other Titles: | Effects of cyannobacteria, Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 supplementation on growth, feed utilization and coloration of Siamese fighting fish (Betta splendens Regan, 1910) |
Authors: | ฐิรารัตน์, แก้วจำนง สมรักษ์, รอดเจริญ อำนวยโชค, เวชกุล ธัชชา, สามพิมพ์ การุณ, ทองประจุแก้ว นัทท์, นันทพงศ์ มานพ, อาดำ เสาวลักษณ์, มาลาวะ |
Keywords: | Nostoc commune การเจริญเติบโต ปลากัด |
Issue Date: | 18-Jun-2564 |
Publisher: | โรงพิมพ์อักษรการพิมพ์ |
Citation: | การุณ ทองประจุแก้ว, ฐิรารัตน์ แก้วจำนง, ธัชชา สามพิมพ์, นัทท์ นันทพงศ์, มานพ อาดำ, สมรักษ์ รอดเจริญ, เสาวลักษณ์ มาลาวะ และอำนวยโชค เวชกุล. (2564, มกราคม-มิถุนายน). ผลของการเสริมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 ต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการสร้างสีของปลากัด (Betta splendens Regan, 1910). วารสารวิชชา, 40 (1), 106-120. |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการสร้างสีของปลากัด (Betta splendens Regan, 1910) ที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 โดยเลี้ยงปลากัดอายุ 6 สัปดาห์ (0.72±0.09 กรัม) ด้วยอาหารที่มีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน N. commune Vaucher TISTR 8870 ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 0.0 1.0 2.5 5.0 และ 10.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ละชุดการทดลองมี 15 ซ้ำ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าปลากัดที่เลี้ยงด้วยอาหารไม่เสริมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน N. commune Vaucher TISTR 8870 และที่มีการเสริมสาหร่าย 1 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ความยาวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย น้ำหนักเพิ่มขึ้นต่อวัน และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่มขึ้นต่อวันดีที่สุดและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) กับทุกชุดการทดลอง ยกเว้นอัตราการรอดตายที่ทุกชุดการทดลองมีค่าเท่ากับ 100±0.00 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ พบว่าชุดการทดลองที่มีการเสริมสาหร่าย 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าต่ำที่สุดและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ขณะที่ค่าความสว่าง ค่าความเป็นสีแดง และความเป็นสีเหลืองของสีผิวของปลากัดที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เสริมและไม่เสริมสาหร่ายสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน N. commune Vaucher TISTR 8870 ซึ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p > 0.05) กิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์เอนไซม์เพปซินและไคโมทริปซินไม่มีความแตกต่างกัน แต่กิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์ไลเปสมีค่าสูงในปลาในชุดควบคุมและปลาที่ได้รับสาหร่ายที่ระดับ 1.0 และ 2.5 เปอร์เซ็นต์ (p > 0.05) คุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลากัดพบว่าค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่าง และค่าอุณหภูมิน้ำมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยพบว่าชุดควบคุม มีค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่าง ต่ำสุดอยู่ที่ 6.24±0.10 และค่าอุณหภูมิน้ำ พบว่าที่เสริมสาหร่าย 2.5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าอุณหภูมิต่ำสุดคือ 26.34±0.03 องศาเซลเซียส ส่วนค่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำและแอมโมเนียไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p > 0.05) กับทุกชุดการทดลอง ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าอาหารปลากัดที่มีการเสริมสาหร่าย 1.0 เปอร์เซ็นต์มีค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำสุดซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงปลากัดเชิงพาณิชย์ |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2445 |
ISSN: | 0125-2380 2651-1223 (online) |
Appears in Collections: | วารสาร
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|