DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2413

Title: กระดิ่ง : พัฒนาการจากความเชื่อและศรัทธา สู่การแสดงสร้างสรรค์ “ระบำกระดิ่งสายพุทธชน”
Other Titles: Development from Belief and Faith to the Creative Show “Buddhist Bell Dance”
Authors: ธีรวัฒน์ ช่างสาน
สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร
อินธนันต์ เหล็กนวลชูสิน
Keywords: นาฏศิลป์สร้างสรรค์
กระดิ่งสาย
ระบำ
Issue Date: 27-Apr-2563
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: ธีรวัฒน์ ช่างสาน, บุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร, พงศธร ศรีใย, สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวรและ อินธนันต์ เหล็กนวลชูสิน. (2563, มกราคม - เมษายน). กระดิ่ง : พัฒนาการจากความเชื่อและศรัทธา สู่การแสดงสร้างสรรค์ “ระบำกระดิ่งสายพุทธชน”. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 12(1), 97-108.
Abstract: การวิจัย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสรรค์ชุดการแสดงจากองค์ความรู้เรื่องระฆังหรือกระดิ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ไว้ยืนยันความเชื่อความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2)ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยนำคติความเชื่อในวิถีชีวิตของชาวพุทธในจังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างเป็นชุดการแสดงที่มีองค์ประกอบตามหลักการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์อย่างมีคุณภาพตรวจสอบได้ในชุดกระดิ่งสายพุทธชน ที่มีความสมบูรณ์ทั้งรูปแบบเอกสาร ซีดี สำหรับเผยแพร่ในโอกาสต่อไปโดยการศึกษาข้อมูลเชิงวรรณกรรมจากแหล่งศึกษาค้นคว้าที่มีคุณภาพ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบมีโครงสร้างและการคิดสร้างสรรค์ท่ารำชุดระบำกระดิ่งสายพุทธชน กระดิ่งหรือระฆังเป็นความเชื่อเรื่องการทำบุญของคนในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารพบทั่วไปทั้งบริเวณรอบองค์พระธาตุ และตามศาลาการเปรียญ มี 2 ลักษณะคือ แบบตี และแบบกระดิ่งลม ผู้วิจัยนำกระดิ่งลมมาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดงลักษณะกระดิ่งสาย องค์ประกอบของการแสดงคือ นักแสดงเป็นผู้หญิงทั้งหมดคัดเลือกจาก ใบหน้าสวย รูปร่างงามสมส่วน มีปฏิภาณไหวพริบดี ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้มี ปี่ ซออู้ โหม่ง ทับ ฉิ่ง บรรเลงทำนองเพลง เพลงบอก เพลงนะโม เพลงสรณะ เพลงจิตตะภิรมย์ และ เพลงอุดมฤดี ใช้กระดิ่งสายที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์จากการร้อยเครื่องลูกปัดโนรามาประดับด้วยกระดิ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง ท่ารำสร้างสรรค์จากทฤษฎีนาฏศิลป์ ทั้งนาฏยศัพท์ ภาษาท่าเพื่อประกอบเพลงบรรเลง คือ เพลงบอก มีท่ารำ 3 ท่า เพลงนะโม มีท่าเดียว เพลงสรณะ มีท่ารำ 10 ท่า เพลงจิตภิรมย์ มีท่ารำ 6 ท่า และเพลงอุดมฤดี มีท่ารำ 19 ท่า ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ชม ร้อยละ 4.70 เป็นประโยชน์ต่อศาสตร์ทางด้านนาฏศิลป์ ร้อยละ4.67 ร้อยละ 4.69 เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพในระดับชาติ/หรือนานาชาติ ร้อยละ 4.65 เป็นงานบุกเบิกทางวิชาการและมีการสังเคราะห์สร้างองค์ความรู้ใหม่ ร้อยละ4.62 สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้ และร้อยละ 4.49 มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจน ทุกข้อคำถามอยู่ในระดับมากและมากที่สุด การแสดงสร้างสรรค์ระบำกระดิ่งสายพุทธชนเหมาะกับการเป็นงานสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมความศรัทธาเป็นชุดระบำที่ให้คุณค่าทาววัฒนธรรมอีกชุดหนึ่ง
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2413
ISSN: 1960-8735 (print)
2651-1223 (online)
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
230313-ไฟล์บทความ-831319-2-10-20200427.pdf240.59 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback