DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2393
|
Title: | การวิจัยเรื่อง สาคูศึกษา : การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูอย่างยั่งยืน |
Other Titles: | Sago Palm studies : the developing local curriculum for preserve Sago Palm forest as sustainable |
Authors: | แก้วใจ สุวรรณเวช มานะ ขุนวีช่วย นฤมล ขุนวีช่วย มลิมาศ จริยพงศ์ อลิสา ตลึงผล |
Keywords: | สาคู ภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักสูตรท้องถิ่น |
Issue Date: | 18-Dec-2562 |
Publisher: | โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง |
Citation: | แก้วใจ สุวรรณเวช, นฤมล ขุนวีช่วย, มานะ ขุนวีช่วย และอลิสา ตลึงผล. (2562, กันยายน – ธันวาคม). การวิจัยเรื่อง สาคูศึกษา : การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูอย่างยั่งยืน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(3), 87-99. |
Abstract: | การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และการจัดการป่าสาคูในพื้นที่บ้านสากเหล็ก และร่วมกันจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น “สาคูศึกษา” ให้กับโรงเรียนวัดสากเหล็ก ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ใช้หลักการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มีการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างทีมนักวิจัยกับโรงเรียนและชุมชน
ผลการศึกษา ช่วงแรกข้อมูลสภาพทั่วไปด้านภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศเป็นที่ราบ สภาพพื้นที่เป็นดินร่วน อาชีพสำคัญของชุมชน คือ การทำนา แต่ในปัจจุบันมีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันในพื้นที่นา มีลักษณะภูมิอากาศที่ทำให้เกิดน้ำท่วมน้ำหลากในช่วงเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ด้านประวัติความเป็นมาของชุมชนสากเหล็กเป็นชุมชนดั้งเดิม มีการขุดพบแท่งเหล็ก มีลักษณะคล้ายสากตำข้าวโบราณ พืชสำคัญ คือ สาคู (Sago) พืชในตระกูลปาล์ม (palm family) ชื่อวิทยาศาสตร์ Metroxylon sagus Rottb. ขึ้นบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำให้มีความหลากหลายของพันธุ์พืช และสัตว์ เป็นพืชซับน้ำ กักเก็บน้ำ ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ คือ ลำต้นที่มีดอก อายุ 6-10 เดือน จะสะสมแป้งไว้ได้มาก จึงมีการแปรรูปเป็นแป้งสาคู เพื่อเป็นอาหารของคน และลำต้นนำไปเลี้ยงเป็ด ไก่ และด้วงสาคู ใบสาคูนำมาเย็บตับสาคู ทางใบนำมาสานเสื่อ ข้องดักปลาไหล และกั้นฝาผนัง ผลมีรสฝาดใช้ทานหรือทำยา รากใช้ทำยา ช่วงที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรสาคูศึกษา : ท้องถิ่นสากเหล็ก เป็นรายวิชาเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 4-6 เป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เห็นคุณค่าภูมิปัญญาการนำสาคูมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของครอบครัว เละเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นที่มีประโยชน์ ทั้งทางด้านวิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ นำความรู้และภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากสาคูเป็นเนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แนวคิดการจัดการเรียนรู้กิจกรรมเป็นฐาน (ABL: Activity-Based Learning) กิจกรรมการศึกษา สืบค้น และปฏิบัติงานกลุ่ม สร้างความรู้ระยะยาว สามารถพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา สามารถสร้างความตระหนัก ความภูมิใจให้กับผู้เรียนจากการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2393 |
ISSN: | 1960-8735 |
Appears in Collections: | วารสาร
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|