DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2368

Title: รูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Other Titles: Appropriate Health Management Model for Students of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University
Authors: สุพัตรา คงขำ
อรรครา ธรรมาธิกุล
สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร
เขมณัฐฏ์ อินทรสุวรรณ
เมธิรา ไกรนที
ศรีสุดา ไชยวิจารณ์
Keywords: รูปแบบการจัดการสุขภาพ
นักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Issue Date: 19-Apr-2562
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: เขมณัฐฏ์ อินทรสุวรรณ, เมธิรา ไกรนที, ศรีสุดา ไชยวิจารณ์, สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร, สุพัตรา คงขำ, และอรรครา ธรรมาธิกุล. (2562, มกราคม - เมษายน). รูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(1), 54-62
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการสุขภาพของนักศึกษา และสร้างรูปแบบ การจัดการสุขภาพที่เหมาะสมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา จำนวน 421 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของยามาเน่ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการสุขภาพของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้าน การจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านบุคคลอยู่ในระดับต่ำสุด 2) รูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ใช้ชื่อว่า “NSTRU Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สร้างเครือข่ายในการทำงาน (Networking) หมายถึง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) ค่านิยมร่วมกัน (Shared Values) หมายถึง การมีอุดมการณ์ค่านิยมร่วมในการทำงานเพื่อพัฒนาการจัดการสุขภาพไปสู่เป้าหมาย ( 3) การรักษาพยาบาลเบื้องตน (Treatment) หมายถึง การคัดกรองอาการเจ็บป่วยและปฐมพยาบาลเบื้องต้น (4) การกระจายทรัพยากร (Resource Mobilization) หมายถึง การกระจายทรัพยากรต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน และเปิดโอกาสให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (5) การใช้เทคโนโลยี (Using of Technology) หมายถึง การจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง และการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารในด้านการจัดการสุขภาพแก่นักศึกษา
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2368
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
127669-Article Text-533451-1-10-20190419.pdf285.71 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback