DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2359
|
Title: | การคงอยู่ของวิถีประมงพื้นบ้านปากพูน : บทวิเคราะห์พลวัตการเปลี่ยนแปลงในอดีต |
Other Titles: | The Persistence of Pak Poon Village Fishery: The Analysis of Dynamics in The Past |
Authors: | มานะ ขุนวีช่วย กมลทิพย์ ธรรมกีระติ |
Keywords: | การคงอยู่ ประมงพื้นบ้าน |
Issue Date: | 29-Nov-2561 |
Publisher: | โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง |
Citation: | กมลทิพย์ ธรรมกีระติ, มานะ ขุนวีช่วย. (2561, กรกฎาคม ถึง ธันวาคม). การคงอยู่ของวิถีประมงพื้นบ้านปากพูน : บทวิเคราะห์พลวัตการเปลี่ยนแปลงในอดีต. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10 (2), 116-126 |
Abstract: | บทความวิชาการนี้ เป็นงานที่พัฒนามาจากงานวิจัย เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของชาวประมงพื้นบ้าน ชุมชนปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก โครงการวิจัยร่วมกับการเรียนการสอนบูรณาการศาสตร์เพื่อการเรียนรู้พัฒนาพื้นที่ (Area Based Collaborative Research for Undergraduate and Master Student : ABC-PUS/MAG) สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ของชาวประมงพื้นบ้าน โดยใช้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นกรอบคิดการวิจัยให้ความสำคัญกับการศึกษาแบบองค์รวม มุ่งศึกษาเนื้อหาทั้งหมด (Total History) ถือเป็นแนวคิดใหม่ในการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ของท้องถิ่นในสังคมไทย รวมถึงการใช้กรอบของแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนที่เชื่อว่าชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง โดยใช้ความรู้ที่ชุมชนมีบวกกับการใช้ฐานทรัพยากรที่เป็นของชุมชนได้อย่างเหมาะสม วิธีการศึกษาได้ดำเนินการในสองลักษณะ คือ การศึกษาเอกสาร และการศึกษาภาคสนามซึ่งใช้วิธีการสังเกต สำรวจ และสัมภาษณ์เชิงลึกในการเข้าถึงข้อมูล
ผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่าชาวประมงพื้นบ้านหมู่ที่ 2 และ 4 ตำบลปากพูน (ชุมชนปากพูน) มีลักษณะของความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตโดยมองจากลักษณะการผลิตแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคที่หนึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาก่อนปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวประมงพื้นบ้านส่วนมากอพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี และมีลักษณะการผลิตที่อาศัยความสมบูรณ์จากธรรมชาติ ยุคที่สอง เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต และเกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรตรงกับทศวรรษ 2500 – 2530 ลักษณะของการผลิตนี้เป็นผลพวงจากการพัฒนาประเทศ ที่มีแนวคิดที่จะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ ยุคที่สาม เป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลตรงกับทศวรรษ 2540 ถึงปัจจุบัน เงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลเกิดจากประสบการณ์ในการทำประมงของชาวประมงพื้นบ้านที่ผ่านมาและการจัดโครงการการจัดการสุขภาวะโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน ที่มองปัญหาของคนทั้งตำบลในเชิงบูรณาการ
ในช่วงปัจจุบันชาวประมงพื้นบ้านปากพูนมีวิธีการทำประมงที่เป็นลักษณะเฉพาะ ถือเป็นวิถีที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งเกิดจากกระบวนการเรียนรู้เรื่องการทำประมงในอดีต ลักษณะสำคัญคือการปรับใช้ความรู้เรื่องการทำประมงที่เหมาะสมกับชุมชนและฐานทางทรัพยากร ลักษณะเช่นนี้นับว่ามีความเหมะสม สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งเมื่อชาวประมงนำความรู้เดิมมาใช้อย่างประนีประนอมกับทรัพยากร ก็จะส่งผลให้ชีวิตสามารถคงอยู่ได้โดยการพึ่งพาภายนอกน้อยลงเพราะมีความมั่นคงเรื่องอาหารเพิ่มขึ้น |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2359 |
ISSN: | 1960-8735 |
Appears in Collections: | วารสาร
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|