DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2334

Title: การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนัง
Other Titles: Learning on Underhill’s Constructivist with Student Teams Achievement Division Technique (STAD) for development of Analytical Thinking and Learning Achievement of Grade 8 Students at Satreepakpanang School.
Authors: ทิพวรรณ ทองปาน
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบ STAD
เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
ทฤษฎีสรรคนิยม
Issue Date: 9-Dec-2559
Publisher: บัณฑิตวิทยาลัย
Citation: ทิพวรรณ ทองปาน. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตาม แนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกบเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อาหารกบการดำรงชีวิต 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนัง ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิด ทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกบเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อาหารกบการดำรงชีวิต และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนังก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตาม แนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อาหารกบการดำรงชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2/2 โรงเรียนสตรีปากพนัง สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 12 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับฉลากจำนวน 1 ห้องเรียน จากประชากรทั้งหมด 7 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการ เรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกบเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง อาหารและการดำรงชีวิต จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest – posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t–test (t–test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นโดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแผนการ จัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ 3 ขั้นหลักคือ ขั้นที่ 1การสร้างความขัดแย้งทางปัญญา ขั้นที่ 2 การไตร่ตรอง การทำกิจกรรมกลุ่ม และขั้นที่ 3 การสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา โดยคุณภาพของ แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับดีมาก คือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 คิดเป็นร้อยละ 84.8 และ มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.24 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนัง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกบเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนัง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2334
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์

Files in This Item:

File Description SizeFormat
132868_566959_736561.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback