DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2327

Title: รูปแบบชุมชนต้นแบบ ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
Other Titles: A Model of the Elder-Friendly Prototype Community
Authors: กมลชนก ภูมิชาติ
Keywords: ชุมชนต้นแบบ
ผู้สูงอายุ
งานสวัสดิการสังคม
การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุ
Issue Date: 3-Nov-2557
Publisher: บัณฑิตวิทยาลัย
Citation: กมลชนก ภูมิชาติ. (2557). รูปแบบชุมชนต้นแบบ ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, คณะครุศาสตร์, สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทชุมชนในการดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุ 2. พัฒนารููปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ 3. ประเมินรูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนาผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหาและใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในพื้นที่ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 181 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. บริบทชุมชนในการดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนมีอายุอยู่ระหว่าง 60-70 ปี ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ผู้สูงอายุในชุมชนจะมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน อัมพาต อัมพฤกษ์ หรือโรคประจำตัวแต่ไม่หนัก เช่น โรคเกี่ยวกับตา โรคเก๋า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเข่า เพราะเกิดจากการที่ผู้สูงอายุไม่มีความรู้ในการดูแลตัวเองเท่าทีควร รวมถึงลูกหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้านจึงไม่มีเวลาดูแลผู้สูงอายุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในชุมชนก็เข้ามาดูแลผู้สูงอายุไม่ทั่วถึง เนื่องจากขาดบุคลากรและเครื่องมือในการดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุ 2. ผลการพัฒนารูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ พบว่า รูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุที่ได้พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ คือ 1) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุเอง 2) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุโดยผู้ดูแลหรือครอบครัว และ 3) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุโดยหน่วยงานหรือองค์กรในชุมชน โดยมีกระบวนการหรือกิจกรรม 4 ด้านได้แก่ ด้านสุขภาพกายและจิตใจ ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านการออกกำลังกาย ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.50 3. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ พบว่า ต้นแบบกับผู้สูงอายุ มีเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มีความถูกต้อง อ่านเข้าใจง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุภาพประกอบมีความเหมาะสมกับเนื้อหา รูปแบบของคู่มือกะทัดรัด น่าสนใจการลำดับเนื้อหา สอดคล้อง เชื่อมโยง ในทุกขั้นตอน สามารถนำไปใช้ในการดูแล และส่งเสริมผู้สูงอายุและสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้หรือเป็นแบบอยางการปฏิบัติที่ดีแก่ชุมชนอื่นได้
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2327
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์

Files in This Item:

File Description SizeFormat
174542_263266_327334.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback