DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2310

Title: การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่ง เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF M –LEARNING LESSON FOR ENHANCING READING AND WRITING SKILLS, SUBSTANCE LEARNING THAI GROUP FOR PRATHOM 1 STUDENTS.
Authors: มนชนก ยะโส
กรวรรณ สืบสม
ประกอบ ใจมั่น
Keywords: บทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่ง
ทักษะการอ่าน
ทักษะการเขียน
Issue Date: 27-Dec-2560
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: กรวรรณ สืบสม, ประกอบ ใจมั่น, มนชนก ยะโส. (2561, เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน). การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่ง เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(1), 103-113
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน เพื่อทดลองใช้บทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่ง เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน เพื่อประเมินบทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน เพื่อวัดความคงทนทางการเรียนหลังการใช้บทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบวัดความพึงพอใจ แบบวัดความคงทน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเที่ยงและ สถิติที (t-test dependent ) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มี 4 องค์ประกอบดังนี้ 1) ส่วนข้อมูลคำอธิบาย เกี่ยวกับบทเรียน 2) ส่วนจัดการบทเรียน (MLMS) 3) ส่วนจัดการเนื้อหาบทเรียน (CMS) และ 4) ส่วนของการติดต่อกับผู้เรียน ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. บทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1\E2 ) 75/84.57 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (75/75) 3. ผลการทดลองใช้บทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน โดยนำไปทดลองใช้จริงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาพระทอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน พบว่า 2.1 ทักษะการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2.2 ทักษะการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. ผลการประเมินบทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่งโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4. ผลการวัดความคงทนทางการเรียนหลังการใช้บทเรียนเอ็มเลิร์นนิ่ง เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน พบว่า ความคงทนในการเรียนผ่านไป 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2310
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
134492-Article Text-356048-1-10-20180715.pdf287.47 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback