DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2302
|
Title: | การอนุรักษ์และพัฒนารำฉุยฉายนางยุบลของชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Conservation and Development of Chuichai Nang Yubon of Villagers in Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | ธีรวัฒน์, ช่างสาน |
Keywords: | การอนุรักษ์และพัฒนา ฉุยฉายนางยุบล |
Issue Date: | 18-Sep-2561 |
Publisher: | โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง |
Citation: | ธีรวัฒน์ ช่างสาน. (2561, เดือนมิถุนายน ถึง กันยายน). การอนุรักษ์และพัฒนารำฉุยฉายนางยุบลของชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(ฉบับพิเศษ), 168-178 |
Abstract: | การวิจัยเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนารำฉุยฉายนางยุบลของชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์รูปแบบการรำฉุยฉายนางยุบลของละครชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อพัฒนาชุดการแสดงรำฉุยฉายนางยุบลของชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราชให้เป็นชุดการแสดงที่สมบูรณ์สวยงามนำออกแสดงได้อย่างเหมาะสมสำหรับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนในจังหวัดนครศรีธรรมราชในโอกาสต่อไป การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างการศึกษาคือ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ศิลปิน และกลุ่มนักศึกษาสาขานาฏศิลป์และการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างในกลุ่มวิทยากร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนารำฉุยฉายนางยุบลของชาวบ้าน ใช้การวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญและการเก็บแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าชมตาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 1-5 ของลิเคิอร์ท ในกลุ่มตัวอย่างเพื่อการพัฒนา รำฉุยฉายนางยุบลเป็นการรำประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนาตอนตัดดอกไม้ฉายกริชของละครผู้หญิงเจ้าพระยานคร ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แนวทางการอนุรักษ์นั้นมุ่งเก็บบทร้องของเก่าแบบตัด คือการร้องฉุยฉาย 1 เที่ยวและร้องแม่ศรี 1 เที่ยว ท่ารำมี 17 ท่า คือท่าฉุยฉาย ท่าจะไปไหนหน่อย ท่าลอยชาย ท่าสำอาง ท่าย่างกราย ท่าลอยชายเที่ยวประพาส ท่าแน่งน้อย ท่าแช่มช้อยสายสวาท ท่าถือพวงพุทธชาด ท่าวิลาศไปเอย ท่าแม่ศรีเอย ท่าแม่ศรีการะเกด ท่าเที่ยวชมปทุมเมษ ท่ายังสะสุกุล ท่าเดินทางมากลางทุ่งพง ท่าเก็บดอกมะยง และท่าบรรจงทัดเอย จากนั้นได้พัฒนาบทร้องใหม่ เป็นฉุยฉายแบบเต็มคือร้องฉุยฉาย 2 เที่ยว และร้องแม่ศรี 2 เที่ยว พัฒนาเครื่องแต่งกายตามแบบละครผู้หญิงเจ้าพระยานคร มี กำไลข้อเท้า ผ้านุ่ง เข็มขัด ผ้าสไบ กรองคอ กำไลข้อมือ จี้นาง กระบังหน้า และดอกไม้ทัด การพัฒนาท่ารำใช้หลักการทางการแสดงนาฏศิลป์ไทย นาฏยศัพท์ ภาษาท่าทาง การตีบท มีท่าเตรียม ท่าออก ท่ารำแบ่งเป็น 2 ช่วง รำแม่ศรี 2 ช่วง ท่าเพลงเร็ว และท่าลาผลการวัดความพึงพอใจของผู้ชมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.51 พึงพอใจต่อ บทร้องไพเราะ การแต่งกายสวยงามถูกต้องตามหลักของการแสดง เห็นถึงการพัฒนาอย่างถูกต้อง เหมาะกับการเป็นชุดการแสดงทางวัฒนธรรม ท่ารำสวยงามตามหลักนาฏศิลป์ไทย และสามารถไปใช้ได้ในกิจกรรมสังคม |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2302 |
ISSN: | 1960-8735 |
Appears in Collections: | วารสาร
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|