DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2299

Title: กระบวนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลภาคครัวเรือนเพื่อลดการใช้แก๊สหุงต้ม
Other Titles: The Development Process of Household Biomass Energy for Reduction Using Cooking Gas
Authors: กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์
ลัญจกร นิลกาญจน์
Keywords: เชื้อเพลิงชีวมวล
ภาคครัวเรือน
ลดการใช้แก๊สหุงต้ม
Issue Date: 28-Sep-2561
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2561, เดือนมิถุนายน ถึง กันยายน). กระบวนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลภาคครัวเรือนเพื่อลดการใช้แก๊สหุงต้ม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(ฉบับพิเศษ), 116-127
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทกระบวนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลภาคครัวเรือนเพื่อลดการใช้แก๊สหุงต้มชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านคลองเคียน ตำบลกะปาง 2) เพื่อถอดบทเรียนขยายผลสู่พื้นที่เครือข่ายกระบวนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลภาคครัวเรือนเพื่อลดการใช้แก๊สหุงต้มชุมชนเศรษฐกิจพอพียง บ้านคลองเคียน ตำบลกะปางโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมมนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาบริบทกระบวนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลภาคครัวเรือนเพื่อลดการใช้แก๊สหุงต้มชุมชนกะโสมเป็นพื้นที่มีต้นไม้ยืนต้นมากมาย ทั้งไม้จากต้นผลไม้ กิ่งไม้ ใบหญ้า ต้นยางพารา ไม้ป่า บางครั้งกลายเป็นขยะ มลภาวะ ซึ่งหาได้สะดวก ไม่มีค่าใช้จ่าย และยังช่วยกำจัดขยะ ซึ่งทุกครัวเรือนจึงหาวัสดุเหล่านี้มาหุงต้มใช้เป็นเชื้อเพลิงเตาชีวมวลในการปรุงอาหารที่ต้องต้ม ตุ๋น ใช้ไฟนานๆ ในการปรุงอาหาร ใช้ในการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงานได้เป็นอย่างดี 2. ผลการขยายผลสู่พื้นที่เครือข่ายกระบวนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลภาคครัวเรือนเพื่อลดการใช้แก๊สหุงต้มชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านคลองเคียน ตำบลกะปาง มีผู้สนใจใฝ่รู้ และพยายามเรียนรู้เพื่อลดรายจ่ายมาก่อน เมื่อนักวิจัยนำนักวิชาการ ผู้รู้มาอธิบาย จึงเกิดความสนใจ และต้องการเรียนรู้ในรายละเอียดถึงขั้นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ด้วยการพยายามทดลองขนาดเล็ก และนำความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งกันและกัน และพยายามสอบถามผู้รู้ แต่ละคนจะมีความสนใจ จึงได้ร่วมมือกับทีมวิจัยที่จะไปศึกษาดูงานและกลับมาดำเนินการในครัวเรือน จึงขับเคลื่อน เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2299
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
123399-Article Text-396236-1-10-20180928.pdf353.1 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback