DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2282

Title: การประยุกต์ใช้เปลือกกล้วยเป็นแหล่งคาร์บอนสำหรับการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากดินที่ปนเปื้อนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว
Other Titles: Application of Banana Peel as a Carbon Sourcefor Biosurfactant Productionfrom Bacteria Isolated from Used Lubricating Oil Contaminated Soil
Authors: ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น
นฤมล มีบุญ
ปวีณา ดิกิจ
อทิพันธ์ เสียมไหม
Keywords: สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ
เปลือกกล้วย
น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว
แบคทีเรีย
Issue Date: 28-Aug-2561
Publisher: โรงพิมพ์อักษรการพิมพ์
Citation: ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น, นฤมล มีบุญ, ปวีณา ดิกิจ, อทิพันธ์ เสียมไหม. (2561, 29 สิงหาคม). การประยุกต์ใช้เปลือกกล้วยเป็นแหล่งคาร์บอนสำหรับการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากดินที่ปนเปื้อนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว. วารสารวิชชา, 37(2), 39-53
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาการคัดเลือกแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากแบคทีเรียที่คัดแยกจากดินที่ปนเปื้อนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้วจากอู่ซ่อมรถบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยใช้เปลือกกล้วยเป็นแหล่งคาร์บอน บนอาหารแข็ง Minimal Salt Medium (MSM) ซึ่งสามารถคัดเลือกแบคทีเรียได้ 7 ไอโซเลต จากแบคทีเรียที่คัดแยกได้ทั้งหมด 159 ไอโซเลต โดยพิจารณาจากกิจกรรม drop collapsing test และกิจกรรมในการอิมัลซิไฟด์น้ำมัน (emulsification activity) พบว่าแบคทีเรียทั้ง 7 ไอโซเลต ให้ค่ากิจกรรมของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพสูง แต่ไม่มีกิจกรรมในการอิมัลซิไฟด์น้ำมันปาล์ม ผลการย้อมแกรมและศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าเชื้อแบคทีเรียทั้ง 7 ไอโซเลต เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปแท่ง โดยเชื้อแบคทีเรียไอโซเลต 180 ให้ค่ากิจกรรมของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพสูงสุดเท่ากับ 8.50 มิลลิเมตร และเมื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตสารลดแรงตึงผิวของเชื้อแบคทีเรียไอโซเลต 180 ในอาหาร MSM โดยใช้เปลือกกล้วยเป็นแหล่งคาร์บอน พบว่าการใช้เปลือกกล้วยความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก เป็นแหล่งคาร์บอน ยีสต์สกัดความเข้มข้นร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก เป็นแหล่งไนโตรเจนพีเอชเริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 7 เลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิห้อง (30±5 องศาเซลเซียส) บนเครื่องเขย่าที่ความเร็ว 200 รอบต่อนาที เชื้อแบคทีเรียไอโซเลต 180 ให้ค่ากิจกรรมของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพสูงที่สุดเท่ากับ 8.00 มิลลิเมตร หลังจากเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 12 ชั่วโมง
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2282
ISSN: 0125-2380
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
126828-Article Text-381842-1-10-20180831.pdf396.41 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback