DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2276
|
Title: | การเรียนรู้แนวทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดของผลผลิตทางการเกษตรตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ : กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Learning of the process of distribution and promotion of agricultural products based on The new theory of Agricultu |
Authors: | นุชนารถ กฤษณรมย์ ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ สมาภรณ์ นวลสุทธิ์ ปัญจพร เกื้อนุ้ย มรกต โกมลดิษฐ์ |
Keywords: | เกษตรทฤษฎีใหม่ การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด |
Issue Date: | 28-Dec-2560 |
Publisher: | โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง |
Citation: | ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ, นุชนารถ กฤษณรมย์, ปัญจพร เกื้อนุ้ย, มรกต โกมลดิษฐ์, สมาภรณ์ นวลสุทธิ์. (2560, มกราคม - มิถุนายน). การเรียนรู้แนวทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดของผลผลิตทางการเกษตรตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ : กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(1), 184-196 |
Abstract: | ทความเรื่อง การเรียนรู้แนวทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดของผลผลิตทางการเกษตรตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ : กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบผลผลิต ช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ตลอดจนปัญหาช่องทางทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดผลผลิตของเกษตรกรตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการศึกษาครั้งนี้เป็นคณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย โดยตรวจสอบข้อมูลตามแนวทางทฤษฎีสามเส้า ซึ่งศึกษาจากกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 5 ประสานสืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวงและมีการปลูกทุเรียนและมังคุดในเชิงพาณิชย์
ผลจากการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่นำแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งได้แก่ ทุเรียนและมังคุด ซึ่งผลผลิตทั้งสองมีรูปแบบการปลูกในพื้นที่ที่อยู่อาศัยและแยกแปลงในลักษณะสวนสมรม ทั้งนี้ผลผลิตทุเรียนนั้นเกษตรกรได้สะท้อนให้เห็นลักษณะบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตร(ตลาดไท) นอกจากนั้นช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดจะมีลักษณะคล้ายกันคือ มุ่งเน้นขายผ่านพ่อค้าคนกลาง และการส่งเสริมการตลาดจะเป็นลักษณะของการบอกปากต่อปาก ส่วนปัญหาที่พบเกษตรกรสะท้อนปัญหาในภาพกว้างนั้นก็คือราคาผลผลิตตกต่ำ ทำให้เกษตรกรพยายามปรับตัวเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยใช้การรวมกลุ่ม แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้เพราะเกษตรกรยังคงให้ความสำคัญกับพ่อค้าคนกลางมากกว่ามาขายให้กับกลุ่ม เนื่องจากคำนึงถึงต้นทุนในการขนส่งผลผลิตจากสวนของเกษตรกรมาสู่กลุ่มจะมีต้นทุนที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าเป็นเกณฑ์การตัดสินใจ |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2276 |
ISSN: | 1960-8735 |
Appears in Collections: | วารสาร
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|