DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2247

Title: นวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาส
Authors: กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์
Keywords: นวัตกรรม
เด็กด้อยโอกาส
การพัฒนาศักยภาพ
Issue Date: 26-Jul-2018
Abstract: การวิจัยเรื่องนวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาสมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษา สภาพการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาส 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาส 3) พัฒนานวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาส กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ อำเภอลำทับ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งไทรทอง ตำบลลำทับ ตำบลดินแดง และตำบลดินอุดม การเลือกพื้นที่เป็นการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยจำนวน 25 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เด็กด้อยโอกาส กลุ่มที่ 2 ครอบครัวเด็กด้อยโอกาส กลุ่มที่ 3 ชุมชน (ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน) และกลุ่มที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาส สรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ได้ ดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาสพบว่าพื้นที่อำเภอลำทับ ได้รับ การดูแลช่วยเหลือ เด็กด้อยโอกาสให้ได้รับการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตตามสิทธิขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมให้มีทักษะการเรียนรู้สามารถอ่าน คิดคำนวณ เขียนได้ ทำให้เด็กด้อยโอกาสได้ รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลคิดวิเคราะห์คิดแก้ปัญหาอีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กให้รู้จักสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันตนเองจากโรคเอดส์สารเสพติดนา ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ครบบริบูรณ์และนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ 2. ผลการศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาสพบว่ากระบวนการพัฒนา ศักยภาพเด็กด้อยโอกาสโดยการสร้างอาชีพเสริมเพื่อให้ครอบครัวมีความมั่นคงทางการเงิน มีรายได้ เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพเสริมที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนได้ส่งเสริม สนับสนุน ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพเสริมแก่ครอบครัวและจัดให้มีการศึกษาดูงาน ตามความต้องการของครอบครัว ส่งผลให้ครอบครัวมีหนี้สินลดลง ส่งผลให้เด็กและครอบครัวอยู่ดีมีสุข 3. ผลศึกษาการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาสพบว่าได้เกิด การพัฒนานวัตกรรมเชิงรูปแบบการพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาส 4 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นการศึกษา กรณีตัวอย่างที่โดดเด่นจากที่อื่น (Shop) 2) ขั้นการคิดวิเคราะห์พัฒนาตนเองจนเกิดความมั่นใจ (Sure) 3) ขั้นการแลกเปลี่ยน/เผยแพร่ประสบการณ์ (Share) และ 4) การนำเสนอต้นแบบ (Show) ศักยภาพ ของตนต่อสาธารณะที่สามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2247
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์

Files in This Item:

File Description SizeFormat
884821_547357_269073.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback