DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2131

Title: การเพิ่มคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและเชื้อจุลินทรีย์ของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นโดยการ ดัดแปลงโครงสร้างทางเคมีด้วยการประยุกต์ใช้เอนไซม์ไลเปส : รายงานวิจัยเรื่อง = Modified virgin coconut oils with broad antioxidant and antimicrobial spectrum by application of lipase
Authors: ฉัตรชัย สังข์ผุด
Keywords: น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น -- วิจัย
Issue Date: 30-Aug-2016
Abstract: เอนไซม์ไลเปสเป็นอีกหนึ่งชนิดของเอนไซม์ที่มีการวิจัยพัฒนาและผลิตจำหน่ายกันเป็นทางการค้า เนื่องจากมีคุณสมบัติเร่งปฏิกิริยาย่อยสลายกรดไขมัน สังเคราะห์เอสเทอร์ และแลกเปลี่ยนหมู่เอสเทอร์ จึงมีการนำมาใช้สำหรับการย่อยสลายหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างของน้ำมันและไขมันเพื่อให้มีคุณสมบัติต่างๆที่เหมาะสมต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง และเภสัชกรรม เป็นต้น การดัดแปรงโครงสร้างของน้ำมันมะพร้าวโดยใช้เอนไซม์ไลเปสคาดว่าจะมีผลทำให้เพิ่มคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันได้ในวงกว้างขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของกรดไขมันอิสระสายกลาง และโมโนกลีเซอไรด์ของกรดไขมันสายกลาง เช่นโมโนลอริน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคืเพื่อคัดเลือกเอนไซม์ 6 แหล่ง คือ ไลเปส AY, M, F-AP15, PS,D และ Pancreatic lipase และควบคุมภาวะที่เหมาะสมต่อการใช้เอมไซม์ไลเปสในการเพิ่มคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและค่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการดัดแปลงโครงสร้างของน้ำมันในระหว่างขั้นตอนการหมักสกัด นำน้ำมันมะพร้าวดัดแปลงมาทดสอบคุณภาพและการเปลี่ยนคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษา ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เจลโลชั่นแต้มสิว พร้อมทดสอบคุณสมบัติและความพึงพอใจของผู้ใช้ ผลการวิจัย พบว่า ผลการใช้เอนไซม์ไลเปส D เป็นตัวเร่งการดัดแปลงโครงสร้างไตรกลีเซอไรด์ของน้ำมันก่อนหมักแยกสามารถให้ปริมาณผลผลิตน้ำมันมะพร้าว ดัดแปลง ค่ากรด คุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระแบบ DPPH radical scavenging capacity assay และสมบัติการต้านเชื้อจุลินทรีย์ S. aureus และ E. coli เมื่อทดสอบด้วยวิธี disc diffusion method สูงสุด และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับการใช้ผลเอนไซม์ไลเปสชนิดอื่นๆ สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตคือขูดเนื้อมะพร้าวระยะสุกห้าวมาคั้นด้วยความดัน 40ปอนด์/ตารางนิ้ว นำน้ำกะทิที่ได้ผสมกับน้ำ 1:1 ปั่นผสม 1,500 รอบต่อนาที เวลา 15 นาที แล้วแช่เย็นที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส เวลา 2 ชั่วโมง แยกเอาเฉพาะครีมมาใส่ขวดโหลเติมกลีเซอรอล 25 มก./ ก.ก.เติมเอนไซม์ไลเปส D เตรียมในสารละลาย 1.0 M phosphate buffer พีเอช 6.0 เข้มข้น.
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2131
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf196.82 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback