DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2116
|
Title: | การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและเจตคติต่อวิชา ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD |
Authors: | ฐิตารีย์ เกิดสมกาล |
Keywords: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- วิจัย ทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ -- วิจัย การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD |
Issue Date: | 3-Feb-2015 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 3)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 4)เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนในศูนย์เครือข่าย 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต1 จำนวน 7 โรงเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 164 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียนวัดบางตะพาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต1 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 24 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่6 จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง 2)แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3)แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาไทย จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 หลังการจัดการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2116 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|