DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2102
|
Title: | การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Authors: | กรรณิการ์ บุษบา |
Keywords: | กลอนสุภาพ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- วิจัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- วิจัย |
Issue Date: | 12-Jan-2015 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อประเมินผลการใช้ชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง (วัดท่าแพ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เลือกมา 1ห้องจำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้การรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ และแบบทดสอบวัดทักษะการแต่งกลอนสุภาพ แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .24 - .66 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .21 - .79 และความเชื่อมั่น .83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า
1.ชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 87.83 / 84.16
ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80
2.หลังการใช้ชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการแต่งกลอนสุภาพ สูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
3. ประเมินประสิทธิผลชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 และค่าเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.23 และศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่อง โจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยทั้งชุด 4.65 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.14 มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2102 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|