DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2062
|
Title: | ผลของการจัดการเรียนรู้แบบไตรลิกขาที่มีต่อผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 |
Authors: | ประพัฒน์ธรรมกิจ ทั่วจบ |
Keywords: | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- วิจัย เจตคติต่อการเรียนพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- วิจัย |
Issue Date: | 24-Sep-2014 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบไตรลิกขา 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบไตรลิกขากับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อทางการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบไตรลิกขา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน ซึ่งไดมาจากการซุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบไตรลิกขา หน่วยการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และ3) แบบวัดเจคติต่อการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แบบแผนการทดลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผงก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย x̅ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
( S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test แบบ dependent samples test และ t-test แบบ one samples test
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนร็แบบไตรสิกขากับเกณฑ์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.เจตคติต่อการเรียนพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางแต่หลังจากการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบไตรสิกขาอยู่ในระดับน้อยแต่หลังจากจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านเนือหาการเรียนรู้และด้านคุณค่าความสำคัญและประโยชน์ก่อนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลางแต่หลังจากการจัเการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่าเจตคติต่อการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนทั้งในภาพรวมและรายด้านหลังการจัดการเรียนรู้ แบบไตรสิกขาสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2062 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|