DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1865

Title: ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน : รายงานการวิจัย
Authors: ภูมิชัย สุวรรณดี
Keywords: ขยะ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ -- วิจัย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด -- การบริหาร -- วิจัย
การจัดการขยะมูลฝอย
Issue Date: 1-Nov-2013
Abstract: ปัญหาขยะมูลฝอยและสิงปฎิกูลถือเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาทีมีความสำคัญและมีแนวโน้มทีสร้างความเสียหาย อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ต่อชุมชนหรือสังคมเมีอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีจำนวนประชากรอาศัย อยู่หนาแน่น หรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลจึงถือ เป็นปัญหาใหญ่และสำคัญในพื้นทีดังกลาว โดยในปัจจุบันตามรัฐธรรบนูญูเเห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองสวนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการบริการ จัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จากการศึกษาวิจัยเอกสารและภาคสนาม พบว่าในปัจจุบันการบริการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง และมี ลักษณะต่างฝ่ายต่างทำ ไม่ประสานความร่วมมือด้านการบริหารจัดการงบประมาณ และบุคลากร ซึ่งกันและกัน ทำให้บริการจัตการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในพื้นที่ไม่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ควร โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัคตามกฎหมายมีอำนาจหน้าทีในการบริการจัดการ ขยะมูลฝอยและสิงปฎิกูลเช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนตาบลเทศบาล แต่เนืองจากพื้นที่ความ รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดครอบคลุมทั้งจังหวัด ภาระในการบริการจัดการขยะมูล ฝอยและสิ่งปฎิกูลจึงตกอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีชั้นที่เล็กกว่าโดยขยายทำให้องค์การ บริหารส่วนจังหวัดผลักภาระดังกลาวให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นโดยปริยาย ทั้งที่มี แนวนโยบายงบประมาณและบุคลากรที่มีศักยภาพเพียงพอทีจะบริการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่ง ปฎิกูลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในพื้นที่ ดังนั้นงานวิจัยจึงศึกษาและวิเคราะห์แนวนโยบาย แผนปฏิบัติการรวมถึงกฎหมายที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีเขตอำนาจเพื่อนำไปสู่การบริการจัดการ ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและ จังหวัดภูเก็ตอย่างมีส่วนร่วมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่ง ปฏิกูลในพื้นที่
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1865
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback