DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1853
|
Title: | พลวัตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็ง : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ = The Dynamic of resource use at kuan kreng peat lands / นฤมล ขุนวีช่วย |
Authors: | นฤมล ขุนวีช่วย |
Keywords: | ป่าพรุควนเคร็ง -- วิจัย |
Issue Date: | 18-Oct-2013 |
Abstract: | โครงการวิจัยเรื่องพลวัตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าพรุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรป่าพรุของกลุ่มคนต่างๆ และการปรับตัวเของกลุ่มคนที่พึ่งพาทรัพยากรในป่าพรุเพื่อความอยู่รอด
จากการผลการศึกษาพบว่า “ พรุควนเคร็ง ” เป็นแหล่งป่าของชุมชนที่คนสองลุ่มน้ำ ทั้งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและลุ่มน้ำปากพนังใช้ประโยชน์ร่วมกันมาตั้งแต่อดีตในการใช้ไม้และของป่าตลอดจนเป็นแหล่งพันธุ์ปลาที่สมบูรณ์มานาน พลวัตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็งแบ่งออกเป็น 3ยุคด้วยกัน คือ ยุคที่ 1 เป็นยุคป่าเขียว (ก่อนพ.ศ.2505) ยุคหลังวาตภัย พ.ศ.(2505-2535) และยุคเกษตรเชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน ลักษณะการใช้ประโยชน์ได้แก่ การเก็บกระจูด การสานกระจูด การใช้ไม้ ของป่า การหาสัตว์น้ำ การทำนา สวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน
สำหรับสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรป่าพรุควนเคร็ง จำแนกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่หากินกับทรัพยากรในป่าพรุอย่างยั่งยืน เช่น กลุ่มหาของป่า จับสัตว์น้ำ ถอนกระจูด กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่หากินกับการทำลายทรัพยากร ได้แก่ กลุ่มที่เข้าไปตัดไม้ทำลายป่าออกมาใช้ประโยชน์ และค้าขาย และ กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่ไม่สนใจหากินกับทรัพยากรแต่ต้องการครอบครอง ได้แก่ กลุ่มที่เข่าไปครอบครองที่ดินป่าพรุเพื่อการเกษตร หรือเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นกลุ่มคนทั้ง3กลุ่ม จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน โดยความสัมพันธ์เป็นไปทั้งรูปของการพึ่งพาอาศัย และความขัดแย้ง ซึ่งในความสัมพันธ์ดังกล่าวได้นำไปสู่กระบวนการปรับตัวของชุมชนเป็นการปรับตัวเพื่อแสวงหาทางออกให้กับตัวเองให้มีชีวิตรอดอยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยอยู่บนฐานการผลิตที่ต้องอาศัยทรัพยากรป่าพรุ และการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1853 |
Appears in Collections: | วิจัย
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|